Wednesday, December 27, 2006

ประโยชน์ของป่าชายเลนในด้านการประมง

ในด้านการประมงป่าชายเลนเป็นแหล่งขยายพันธุ์ และที่อยู่อาศัยของสัตว์นานาชนิด เช่น กุ้ง อันได้แก่ กุ้งกุลาดำ กุ้งแชบ๊วย โดยมีคนศึกษาพบว่าบริเวณป่าชายเลนประเทศไทย มีกุ้งชนิดต่าง ๆ ประมาณ 16 ชนิด กุ้งแชบ๊วย โดยมีคนศึกษาพบว่าบริเวณป่าชายเลนประเทศไทย มีกุ้งชนิดต่าง ๆ ประมาณ 16 ชนิด กุ้งบางชนิดอาจมีชีวิตวางไข่ในทะเลลึก แล้วเข้ามาเติบโตในชายฝั่ง ขณะที่สัตว์น้ำบางชนิดอาจใช่บริเวณป่าชายเลนเป็นทั้งแหล่งเกิดและอาศัยจนเติบโตสืบพันธุ์ต่อไป สัตว์น้ำประเภทปลาก็เช่นเดียวกับประเภทกุ้งที่บางชนิดเข้ามาเลี้ยงตัวในวัยอ่อนในแหล่งน้ำชายฝั่งอันอุดมสมบูรณ์ จนเจริญเติบโตแล้วออกสู่ทะเลลึกเพื่อการแพร่พันธุ์ต่อไป แต่บางชนิดก็มีถิ่นอาศัยตั้งแต่เกิดจนตายในบริเวณเดียวกัน (endemic species) และพบปลาในวัยอ่อนอาศัยตามบริเวณชายฝั่งมากที่สุด เช่น ปลากะพงขาว ปลาเก๋า ปลากระบอก และปลานวลจันทร์ทะเล สัตว์น้ำประเภทหอยที่มีค่าทางเศรษฐกิจที่พบบริเวณป่าชายเลนและพื้นที่ใกล้เคียง เช่น บนที่ราบดินเลน ที่ราบดินทรายปนเลน ได้แก่ หอยนางรม หอยแมลงภู่ หอยแครง และหอยกะพง นอกจากนี้ สัตว์น้ำประเภทปู จะพบมากชนิด เช่น ปูแสม ปูทะเล และปูม้า สำหรับปูทะเลสามารถนำมาเลี้ยงให้มีเนื้อแน่นหรือจับมากบริเวณป่าชายเลน ปูทะเล (Scylla serrata) ไม่มีวงจรชีวิตออกสู่ทะเลลึกเลยตลอดชีวิตจะอยู่อาศัยในบริเวณป่าชายเลน และพื้นที่ใกล้เคียงเท่านั้น ซึ่งต่างจากปูม้า(Portunus pelagicus) ซึ่งในวัยอ่อนจะหากินบริเวณที่ราบดินเลน ใกล้ฝั่งป่าชายเลน แต่พอโตขึ้นจะว่ายออกไปหากิน และดำรงชีวิตในทะเลห่างออกไป ชาวประมงจับปูชนิดนี้ด้วยอวนลอยตรงกันข้ามกับการจับปูทะเล ซึ่งต้องจับบริเวณชายฝั่งด้วยแร้วดักปู หรือใช้ตะขอเกี่ยว ดึงออกจากรูที่อยู่ พบว่า ปูทะเล (scylla serrata) จัดเป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่มีความสำคัญในบริเวณป่าเลนจังหวัดระนอง เพราะการจับปูทะเลเป็นอาชีพที่สามารถทำรายได้ดีแก่ชาวประมงพื้นบ้าน จำนวน 70 คน ใน 4 หมู่บ้านที่อาศัยอยู่บริเวณป่าชายเลน โดยสามารถจับขายได้ละประมาณ 109 ตัน ซึ่งในจำนวนนี้พบว่าร้อยละ 46 หรือประมาณ 50 ตัน เป็นปูทะเลที่มีขนาดเล็กกว่า 10 ซม. ในขณะที่ประมาณร้อยละ 42 จะมีขนาดใหญ่กว่า 10 ซม. โดยไม่ร่วมปูตัวเมียที่มีไข่ ส่วนปูทะเลตัวเมียที่มีไข่ ขนาด 10 - 11.5 ซม. จับได้ประมาณร้อยละ 12

No comments: