Wednesday, December 27, 2006

มาตรการการควบคุมเพื่อให้มีการใช้ประโยชน์จากป่าชายเลนอย่างต่อเนื่องและยาวนาว

มาตรการการควบคุมเพื่อให้มีการใช้ประโยชน์จากป่าชายเลนอย่างต่อเนื่องและยาวนาว
- ควบคุมการทำบ่อเลี้ยงกุ้ง การตัดไม้เพื่อใช้ประโยชน์ ฯลฯ ด้วยข้อกำหนดและกฎหมาย
- รักษาสภาพภูมิประเทศและลักษณดินของป่าและร่องน้ำให้อยู่ในสภาพธรรมชาติ
- รักษาแบบแผนทางด้านเวลาและด้านกายภาพของความเค็มของน้ำผิวดินและน้ำใต้ดิน
- รักษาแบบแผนธรรมชาติและวงจรการขึ้นลงของกระแสน้ำ และการไหลของน้ำจืดออกสู่ทะเลให้คงอยู่ตลอดไป
- รักษาความสมดุลย์ทางธรรมชาติระหว่างการงอก การกัดเซาะ และการตกตะกอน

ปัจจัยด้านการจัดการที่สำคัญเกี่ยวกับป่าชายเลน

ปัจจัยด้านการจัดการที่สำคัญ
- น้ำจืดที่ไหลลงสู่น้ำทะเลทำให้ความเค็มเจือจางลง ระดับความเค็มของน้ำคือปัจจัยสำคัญที่จะกำหนดชนิด และความอุดมสมบูรณ์ของสิ่งมีชีวิต
- ระยะของพื้นที่ที่อยู่ในระหว่างน้ำขึ้นน้ำลงเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดสำหรับป่าชายเลน เนื่องจากความเค็มจากน้ำทะเลจะแทรกซึมลงไปในพื้นที่ ซึ่งมีผลต่อการเติบโตของป่าชายเลน
- มลพิษในพื้นที่ชายฝั่งทะเลซึ่งเป็นผลจากของเสียจากโรงงาน น้ำเสียจากอาคารบ้านเรือน ของเสียจากการทำเกษตรกรรม การทับถมของตะกอนของดินและทรายและการแพร่กระจายของน้ำมัน มีผลต่อป่าชายเลนและทรัพยากรสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในน้ำ
- ป่าชายเลนในพื้นที่ชายฝั่งทะเลเป็นแหล่งของไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ที่สำคัญ ทั้งสำหรับการใช้ประโยชน์ภายในบ้านเรือนและในทางการค้า ผลิตภัณฑ์จากป่าชายเลนเป็นแหล่งวัสดุก่อสร้าง และเชื้อเพลิงที่สำคัญต่อการยังชีพของประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ชายฝั่งทะเล

แนวทางการแก้ไขปัญหาของป่าชายเลน

แนวทางการแก้ไขปัญหา
1. เพื่อเป็นการหยุดยั้งการแผ่ขยายการทำลายป่าชายเลน จึงควรที่จะห้ามกิจกรรมใด ๆ ที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนสภาพป่าชายเลนได้
2. การตอบสนองความต้องการใด ๆ ของมนุษย์ จะต้องเป็นไปโดยไม่ทำให้ส่งผลเสียหายต่อพืชและสัตว์ในเขตอนุรักษ์
3. ป่าชายเลนควรจะได้รับการจัดการในรูปแบบของการจัดการทรัพยากรที่เกิดทดแทนได้ เพื่อให้มีการใช้ประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อม ตลอดจนการให้บริการทางด้านสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ได้อย่างต่อเนื่องและยาวนาน
4. ควรจะถือว่าป่าชายเลนเป็นส่วนหนึ่งของเขตชายฝั่งทะเล โดยไม่มีการแบ่งแยกการพิจารณาเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ป่าชายเลน จะต้องคำนึงถึงลักษณะการพึ่งพอของป่าชายเลนที่ขึ้นอยู่กับการใช้ที่ดินเพื่อการเก็บกักน้ำ และลักษณะความสัมพันธ์ที่สำคัญระหว่างป่าชายเลนกับผืนน้ำชายฝั่งที่อยู่ติดกัน
5. ควรจะมีการจัดทำการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม สำหรับโครงการที่อยู่ในป่าชายเลนหรือที่อยู่ติดกับป่าชายเลน โดยถือว่าระบบนิเวศป่าชายเลนนั้นเปลี่ยนแปลงได้ง่าย และควรจะเน้นถึงความสำคัญของกระบวนการภายนอกที่เกี่ยวข้องกัลแหล่งน้ำจืดและน้ำเค้ม และการผลิตสารอาหาร
6. ควรจะมีการปรับปรุงฐานข้อมูลป่าชายเลน และแผนชาติเกี่ยวกับป่าชายเลนให้ทันสมัยอยู่เสมอ
7. รณรงค์ให้ประชาชนและผู้บกรุกป่าชายเลนเข้าใจถึงความสำคัญของป่าชายเลน และให้ความร่วมมือในการอนุรักษ์ป่าชายเลน
8. ชดเชยพื้นที่ป่าชายเลนที่สูญเสียไปโดยการปลูกทดแทนขึ้นมา

สรุปปัญหาที่เกิดขึ้นกับป่าชายเลน

สรุปปัญหาที่เกิดขึ้นกับป่าชายเลน
1. การใช้ประโยชน์ที่มากเกินไป การบุกรุกป่าชายเลนเพื่อหาผลผลิตจากป่าโดยตรงจนเกินขีดความสามารถของป่า ตลอดจนการอนุญาตให้เข้าตัดฟันป่าไม้ชายเลนมากเกินไป ล้วนก่อให้เกิดผลกระทบต่อป่าชายเลนโดยตรงในแง่ของการให้ผลผลิตและการบริการต่าง ๆ ดังกล่าวแล้ว
2. การแปรสภาพป่าชายเลน กิจกรรมต่าง ๆ เช่น การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การทำบ่อปลา และการพัฒนาเป็นที่อยู่อาศัย มักจะได้รับการพิจารณาว่ามีคุณค่าและได้รับการสนับสนุนให้เข้าใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชายเลนเพิ่มมากขึ้น
3. กิจกรรมการใช้ประโยชน์จากป่าชายเลนที่มากเกินไป รวมทั้งกิจกรรมที่ต้องอาศัยการาแปรสภาพป่าชายเลน อาจก่อให้เกิดผลกระทบในทางลบด้านเศรษฐกิจสังคมสำหรับชุมชนชายฝั่งทะเลได้ ยิ่งไปกว่านั้น กิจกรรมต่าง ๆ เหล่านี้ยังทำให้พืชและสัตว์หลายชนิดในป่าชายเลนต่างก็สูญพันธุ์ไปมากแล้ว

สรุปปัญหาที่เกิดขึ้นกับป่าชายเลน

สรุปปัญหาที่เกิดขึ้นกับป่าชายเลน
1. การใช้ประโยชน์ที่มากเกินไป การบุกรุกป่าชายเลนเพื่อหาผลผลิตจากป่าโดยตรงจนเกินขีดความสามารถของป่า ตลอดจนการอนุญาตให้เข้าตัดฟันป่าไม้ชายเลนมากเกินไป ล้วนก่อให้เกิดผลกระทบต่อป่าชายเลนโดยตรงในแง่ของการให้ผลผลิตและการบริการต่าง ๆ ดังกล่าวแล้ว
2. การแปรสภาพป่าชายเลน กิจกรรมต่าง ๆ เช่น การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การทำบ่อปลา และการพัฒนาเป็นที่อยู่อาศัย มักจะได้รับการพิจารณาว่ามีคุณค่าและได้รับการสนับสนุนให้เข้าใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชายเลนเพิ่มมากขึ้น
3. กิจกรรมการใช้ประโยชน์จากป่าชายเลนที่มากเกินไป รวมทั้งกิจกรรมที่ต้องอาศัยการาแปรสภาพป่าชายเลน อาจก่อให้เกิดผลกระทบในทางลบด้านเศรษฐกิจสังคมสำหรับชุมชนชายฝั่งทะเลได้ ยิ่งไปกว่านั้น กิจกรรมต่าง ๆ เหล่านี้ยังทำให้พืชและสัตว์หลายชนิดในป่าชายเลนต่างก็สูญพันธุ์ไปมากแล้ว

ปัญหาของป่าชายเลน

ปัญหาของป่าชายเลน
ประเทศไทย มีแนวชายฝั่งทะเลยาวประมาณ 2,600 กิโลเมตร มีส่วนที่มีป่าชายเลนขึ้นอยู่ประมาณร้อยละ 36 ของความยาวชายฝั่งเท่านั้น ซึ่งเป็นป่าชายเลนที่สำรวจในปี 2504 ประมาณ 2,299,375 ไร่ แต่จากการสำรวจพื้นที่ป่าชายเลนของกรมป่าไม้ โดยใช้ภาพถ่ายดาวเทียม ในปี 2532 ปรากฏว่าพื้นที่ป่าชายเลนทั้งหมดเหลือประมาณ 1,128,494 ไร่ โดยส่วนใหญ่กระจาย อยู่ตามจังหวัดต่าง ๆ ทางภาคใต้ฝั่งตะวันตก ประมาณ 888,564 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 78.74 ของพื้นที่ป่าชายเลนทั้งหมด รองลงไปอยู่ในเขตภาคตะวันออก ภาคใต้ฝั่งตะวันออก และภาคกลาง (หรือก้นอ่าวไทย) มีเนื้อที่ประมาณ 129,430 ไร่, 106,775 ไร่ และ 3,725 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 11.47, ร้อยละ 9.46 และร้อยละ 0.33 ของพื้นที่ป่าชายเลนทั้งประเทศตามลำดับ (ไพโรจน์, 2534)
จากการเพิ่มขึ้นของประชากรในประเทศ มีส่วนสำคัญทำให้พื้นที่ป่าชายเลนลดลง กล่าวคือ ในช่วงปี 2504 - 2518 เนื้อที่ป่าชายเลนลดลง 345,000 ไร่ หรือลดลงเฉลี่ยปีละ 24, 643 ไร่ในช่วงปี 2518 - 2522 เนื้อที่ป่าชายเลนลดลง 158,700 ไร่ หรือลดลงเฉลี่ยปีละ 39,675 ไร่ในช่วงปี 2522 - 2529 เนื้อที่ป่าชายเลนลดลง 568,001 ไร่ หรือลดลงเฉลี่ยปีละ 81,143 ไร่ในช่วงปี 2529 - 2532 เนื้อที่ป่าชายเลนลดลง 99,153 ไร่ หรือลดลงเฉลี่ยปีละ 33,060 ไร่
ในช่วงปี 2504 - 2532 เนื้อที่ป่าชายเลนถูกทำลายทั้งสิ้น 1,170,881 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 50.93 ของเนื้อที่ป่าชายเลนที่มีอยู่ในปี 2504 หรือคิดเป็นอัตราการทำลายเฉลี่ยปีละประมาณ 41,817 ไร่

สรุปการใช้ประโยชน์จากป่าชายเลน

สรุปการใช้ประโยชน์จากป่าชายเลน
มีความสำคัญในการเป็นแหล่งพลังงานและอาหาร
เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยของพืชและสัตว์ตามธรรมชาติ
เพื่อเป็นเครื่องป้องกันแนวชายฝั่งทะเล
เพื่อควบคุมการกัดเซาะพังทลาย
เพื่อซับน้ำเสีย
เป็นแนวกำบังกระแสน้ำเชี่ยวที่ปากแม่น้ำและพายุหมุน
ผลิตภัณฑ์จากไม้
เชื้อเพลิง
วัสดุก่อสร้าง
สิ่งทอและหนังสัตว์
อาหาร ยา และเครื่องดื่ม
การผลิตกรดจากเปลือกไม้ (tannin)
การทำเหมือนแร่ดีบุกในบริเวณป่าชายแดน
ให้ผลผลิตน้ำเย็นในระบบหล่อเย็นของโรงไฟฟ้าและโรงงานอุตสาหกรรม
ให้ผลผลิตเกลือ
ให้ผลผลิตมวลชีวภาพ (biomass) แก่แหล่งประมง
(ก) แหล่งประมงใกล้ชายฝั่ง
(ข) เป็นแหล่งพักอาศัยของลูกปลาและลูกกุ้ง
ให้ผลผลิตมวลชีวภาพสำหรับการเลี้ยงหอยแมลงภู่และปลา

ประโยชน์ของป่าชายเลนในด้านการประมง

ในด้านการประมงป่าชายเลนเป็นแหล่งขยายพันธุ์ และที่อยู่อาศัยของสัตว์นานาชนิด เช่น กุ้ง อันได้แก่ กุ้งกุลาดำ กุ้งแชบ๊วย โดยมีคนศึกษาพบว่าบริเวณป่าชายเลนประเทศไทย มีกุ้งชนิดต่าง ๆ ประมาณ 16 ชนิด กุ้งแชบ๊วย โดยมีคนศึกษาพบว่าบริเวณป่าชายเลนประเทศไทย มีกุ้งชนิดต่าง ๆ ประมาณ 16 ชนิด กุ้งบางชนิดอาจมีชีวิตวางไข่ในทะเลลึก แล้วเข้ามาเติบโตในชายฝั่ง ขณะที่สัตว์น้ำบางชนิดอาจใช่บริเวณป่าชายเลนเป็นทั้งแหล่งเกิดและอาศัยจนเติบโตสืบพันธุ์ต่อไป สัตว์น้ำประเภทปลาก็เช่นเดียวกับประเภทกุ้งที่บางชนิดเข้ามาเลี้ยงตัวในวัยอ่อนในแหล่งน้ำชายฝั่งอันอุดมสมบูรณ์ จนเจริญเติบโตแล้วออกสู่ทะเลลึกเพื่อการแพร่พันธุ์ต่อไป แต่บางชนิดก็มีถิ่นอาศัยตั้งแต่เกิดจนตายในบริเวณเดียวกัน (endemic species) และพบปลาในวัยอ่อนอาศัยตามบริเวณชายฝั่งมากที่สุด เช่น ปลากะพงขาว ปลาเก๋า ปลากระบอก และปลานวลจันทร์ทะเล สัตว์น้ำประเภทหอยที่มีค่าทางเศรษฐกิจที่พบบริเวณป่าชายเลนและพื้นที่ใกล้เคียง เช่น บนที่ราบดินเลน ที่ราบดินทรายปนเลน ได้แก่ หอยนางรม หอยแมลงภู่ หอยแครง และหอยกะพง นอกจากนี้ สัตว์น้ำประเภทปู จะพบมากชนิด เช่น ปูแสม ปูทะเล และปูม้า สำหรับปูทะเลสามารถนำมาเลี้ยงให้มีเนื้อแน่นหรือจับมากบริเวณป่าชายเลน ปูทะเล (Scylla serrata) ไม่มีวงจรชีวิตออกสู่ทะเลลึกเลยตลอดชีวิตจะอยู่อาศัยในบริเวณป่าชายเลน และพื้นที่ใกล้เคียงเท่านั้น ซึ่งต่างจากปูม้า(Portunus pelagicus) ซึ่งในวัยอ่อนจะหากินบริเวณที่ราบดินเลน ใกล้ฝั่งป่าชายเลน แต่พอโตขึ้นจะว่ายออกไปหากิน และดำรงชีวิตในทะเลห่างออกไป ชาวประมงจับปูชนิดนี้ด้วยอวนลอยตรงกันข้ามกับการจับปูทะเล ซึ่งต้องจับบริเวณชายฝั่งด้วยแร้วดักปู หรือใช้ตะขอเกี่ยว ดึงออกจากรูที่อยู่ พบว่า ปูทะเล (scylla serrata) จัดเป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่มีความสำคัญในบริเวณป่าเลนจังหวัดระนอง เพราะการจับปูทะเลเป็นอาชีพที่สามารถทำรายได้ดีแก่ชาวประมงพื้นบ้าน จำนวน 70 คน ใน 4 หมู่บ้านที่อาศัยอยู่บริเวณป่าชายเลน โดยสามารถจับขายได้ละประมาณ 109 ตัน ซึ่งในจำนวนนี้พบว่าร้อยละ 46 หรือประมาณ 50 ตัน เป็นปูทะเลที่มีขนาดเล็กกว่า 10 ซม. ในขณะที่ประมาณร้อยละ 42 จะมีขนาดใหญ่กว่า 10 ซม. โดยไม่ร่วมปูตัวเมียที่มีไข่ ส่วนปูทะเลตัวเมียที่มีไข่ ขนาด 10 - 11.5 ซม. จับได้ประมาณร้อยละ 12

ประโยชน์ของป่าชายเลน

ป่าชายเลนเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ทั้งในด้านการป่าไม้ การประมง และสิ่งแวดล้อม เช่น ในด้านป่าไม้ไม้จากป่าชายเลน โดยเฉพาะไม้โกงกางนำมาทำฟืน เผาถ่าน ให้ถ่านที่มีคุณภาพดี ไม้ป่าชายเลนอีกหลายชนิดนำไปทำสิ่งก่อสร้าง เฟอร์นิเจอร์ และกลั่น เอกสารเคมีที่เป็นประโยชน์ เช่น แทนนิน แอลกอฮอล์ กรดน้ำส้ม และน้ำมันดิน ในด้านการประมงป่าชายเลนเป็นแหล่งขยายพันธุ์ และที่อยู่อาศัยของสัตว์นานาชนิด
ระบบนิเวศวิทยาที่เกิดขึ้นในป่าชายเลนนั้น เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ที่มีต่อกันระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม พืชพรรณธรรมชาติชนิดต่าง ๆ เมื่อได้รับแสงจากดวงอาทิตย์ เพื่อใช้ในการสังเคราะห์แสงจะทำให้เกิดอินทรียวัตถุและการเจริญเติบโต กลายเป็นผู้ผลิต (producers) ของระบบส่วนต่าง ๆ ของต้นไม้ นอกเหนือจากมนุษย์นำไปใช้ประโยชน์จะร่วงหล่นทับถมในน้ำและในดิน ในที่สุดก็จะกลายเป็นแร่ธาตุของพวกจุลชีวัน เช่น แบคทีเรีย เชื้อรา แพลงก์ตอน ตลอดจนสัตว์เล็ก ๆ หน้าดินที่เรียกกลุ่มนี้ว่า ผู้บริโภคของระบบ (detritus consumers) พวกจุลชีวันเหล่านี้จะเจริญเติบโตกลายเป็นแหล่งอาหารของสัตว์น้ำเล็ก ๆ อื่น ๆ และสัตว์เล็ก ๆ เหล่านี้ จะเจริญเติบโตเป็นอาหารของพวกกุ้ง ปู และปลาขนาดใหญ่ขึ้นตามลำดับของอาหาร (tropic levels) นอกจากนี้ ใบไม้ที่ตกหล่นโคนต้นอาจเป็นอาหารโดยตรงของสัตว์น้ำ (litter feeding) ก็ได้ ซึ่งทั้งหมดจะเกิดเป็นห่วงโซ่อาหารขึ้น ในระบบนิเวศป่าชายเลน และโดยธรรมชาติแล้วจะมีความสมดุลในตัวของมันเอง แต่ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งก็จะเป็นผลทำให้ระบบความสัมพันธ์นี้ถูกทำลายลง จนเกิดเป็นผลเสียขึ้นได้ เช่น ถ้าหากพื้นที่ป่าชายเลนถูกบุกรุกทำลาย จำนวนสัตว์น้ำก็จะลดลงตามไปด้วยตลอดจนอาจเกิดการเน่าเสียของน้ำตามมา

ทางด้านสิ่งแวดล้อมป่าชายเลน มีความสำคัญในด้านการอนุรักษ์พื้นที่ชายฝั่งทะเลโดยเฉพาะช่วยลดภาระน้ำเสียและยังช่วยทำให้เกิดการงอกของแผ่นดินขยายออกไปสู่ทะเลอีกด้วย ความสำคัญของป่าชายเลนด้านการอนุรักษ์พื้นที่ชายฝั่งทะเลนั้น ไพโรจน์ (2534) สรุปไว้ดังนี้
ก) ป่าชายเลนเป็นฉากกำบังภัยธรรมชาติ เพื่อป้องกันลมพายุมรสุมต่อการพังทลายของดินที่อยู่บริเวณชายฝั่งทะเล
ข) ป่าชายเลนช่วยป้องกันสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ รากของต้นไม้ในป่าชายเลนที่งอกออกมาเหนือพื้นดิน จะทำหน้าที่คล้ายตะแกรงธรรมชาติ คอยกลั่นกรองสิ่งปฏิกูลต่าง ๆ ที่มากับกระแสน้ำ ทำให้น้ำในแม่น้ำ ลำคลอง และชายฝั่งทะเลสะอาดขึ้น
ค) ป่าชายเลนช่วยทำให้พื้นดินบริเวณชายฝั่งทะเลงอกขยายออกไปในทะเล รากของต้นไม้ในป่าชายเลน นอกจากจะช่วยป้องกันสิ่งแวดล้อมเป็นพิษแล้ว ยังช่วยทำให้ตะกอนที่แขวนลอยมากับน้ำทับถมเกิดเป็นแผ่นดินงอกใหม่ เมื่อระยะเวลานาน ก็จะขยายออกไปในทะเลเกิดเป็นหาดเลน อันเหมาะสมแก่การเกิดของพันธุ์ไม้ป่าชายเลน จากการสำรวจของกรมป่าไม้ในปี 2528 พบว่ามีหาดเลนงอกใหม่ประมาณ 62,906 ไร่ ในจังหวัดนครศรีธรรมราช เพชรบุรีและจังหวัดอื่น ๆ

เรื่องของป่าชายเลน

เรื่องของป่าชายเลน
ป่าชายเลน หรือป่าโกงกาง (Mangrove forest หรือ intertidal forest) คือ กลุ่มของสังคมพืชซึ่งขึ้นอยู่ในเขตน้ำลงต่ำสุด และน้ำขึ้นสูงสุดบริเวณชายฝั่งทะเล ปากแม่น้ำ หรืออ่าวป่าชายเลนเป็นบริเวณที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตหลายชนิด ทั้งพืชและสัตว์ ป่าชายเลนจึงให้ประโยชน์แก่มนุษย์มากมาย ทั้งในด้านพลังงานและไม้ใช้สอย ตลอดจนเป็นแหล่งผลิตอาหารโปรตีนที่สำคัญ เนื่องจากป่าชายเลนเป็นที่วางไข่ แหล่งอาหาร และเจริญเติบโตของสัตว์น้ำเศรษฐกิจนานาชนิด นอกจากนี้ ป่าชายเลนยังช่วยป้องกันภัยธรรมชาติ โดยเฉพาะเป็นเกราะกำบังและลดความรุนแรง ของคลื่นลมชายฝั่ง ช่วยดักตะกอนสิ่งปฏิกูล และสารพิษต่าง ๆ มิให้ไหลลงไปสะสมในบริเวณ ชายฝั่ง

เรื่องของป่าชายเลน

เรื่องของป่าชายเลน
ป่าชายเลน หรือป่าโกงกาง (Mangrove forest หรือ intertidal forest) คือ กลุ่มของสังคมพืชซึ่งขึ้นอยู่ในเขตน้ำลงต่ำสุด และน้ำขึ้นสูงสุดบริเวณชายฝั่งทะเล ปากแม่น้ำ หรืออ่าวป่าชายเลนเป็นบริเวณที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตหลายชนิด ทั้งพืชและสัตว์ ป่าชายเลนจึงให้ประโยชน์แก่มนุษย์มากมาย ทั้งในด้านพลังงานและไม้ใช้สอย ตลอดจนเป็นแหล่งผลิตอาหารโปรตีนที่สำคัญ เนื่องจากป่าชายเลนเป็นที่วางไข่ แหล่งอาหาร และเจริญเติบโตของสัตว์น้ำเศรษฐกิจนานาชนิด นอกจากนี้ ป่าชายเลนยังช่วยป้องกันภัยธรรมชาติ โดยเฉพาะเป็นเกราะกำบังและลดความรุนแรง ของคลื่นลมชายฝั่ง ช่วยดักตะกอนสิ่งปฏิกูล และสารพิษต่าง ๆ มิให้ไหลลงไปสะสมในบริเวณ ชายฝั่ง

เรื่องของป่าชายเลน

เรื่องของป่าชายเลน
ป่าชายเลน หรือป่าโกงกาง (Mangrove forest หรือ intertidal forest) คือ กลุ่มของสังคมพืชซึ่งขึ้นอยู่ในเขตน้ำลงต่ำสุด และน้ำขึ้นสูงสุดบริเวณชายฝั่งทะเล ปากแม่น้ำ หรืออ่าวป่าชายเลนเป็นบริเวณที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตหลายชนิด ทั้งพืชและสัตว์ ป่าชายเลนจึงให้ประโยชน์แก่มนุษย์มากมาย ทั้งในด้านพลังงานและไม้ใช้สอย ตลอดจนเป็นแหล่งผลิตอาหารโปรตีนที่สำคัญ เนื่องจากป่าชายเลนเป็นที่วางไข่ แหล่งอาหาร และเจริญเติบโตของสัตว์น้ำเศรษฐกิจนานาชนิด นอกจากนี้ ป่าชายเลนยังช่วยป้องกันภัยธรรมชาติ โดยเฉพาะเป็นเกราะกำบังและลดความรุนแรง ของคลื่นลมชายฝั่ง ช่วยดักตะกอนสิ่งปฏิกูล และสารพิษต่าง ๆ มิให้ไหลลงไปสะสมในบริเวณ ชายฝั่ง